วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติของจังหวัดนครพนม

ประวัติของจังหวัด
จังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีประวัติสืบทอดยาวนานมาหลายร้อยปี เดิมเคยเป็นมหานครของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ที่รุ่งเรืองในอดีต ประมาณราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นอาณาจักรอิสระไม่ขึ้นกับใคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ได้เสื่อมอำนาจลงตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของอาณาจักรขอม ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ชื่อของ “ศรีโคตรบูรณ์” เป็นเมืองในอาณาจักรล้านช้าง มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง โดยพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ทรงสร้างเมืองที่ปากห้วยหินบูรณ์ ( ปากห้วยบรรจบลำน้ำโขง ฝั่งซ้ายตรงข้ามอำเภอท่าอุเทน เหนือเมืองนครพนม ) ให้ชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “ศรีโคตรบูรณ์” สืบราชสมบัติมาได้หลายองค์ ต่อมาย้ายเมืองมาตั้งที่ป่าไม้รวก ห้วยศรีมังริมแม่น้ำโขงฝั่งซ้าย (คือเมืองเก่าใต้เมืองท่าแขกในปัจจุบัน)ถึงปี พ.ศ. 2297 มีพระนครานุรักษ์ครองเมืองศรีโคตรบูรณ์ มีความเห็นว่า เมืองมิได้ตั้งอยู่ที่ปากห้วยแล้ว จึงได้เปลี่ยนนามเมืองใหม่ว่า “เมืองมรุกขนคร” เพราะถือว่าสร้างขึ้นในดงไม้รวก นามเมืองศรีโคตรบูรณ์ จึงเปลี่ยนไปตั้งแต่ครั้งนั้นปี พ.ศ. 2330 ย้ายเมืองมาตั้งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ปากห้วยบังฮวก บรรจบกับแม่น้ำโขง (ปัจจุบันอยู่ระหว่าง บ้านดอนนางหงส์ท่า ตำบลดอนนางหงส์ อำเภอธาตุพนม เลยลงไปถึงบ้านธาตุน้อยศรีบุญเรือง ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม) เมืองมรุกขนคร เมื่อได้ย้ายมาตั้งที่ปากห้วยบังฮวก โดยประมาณ 20 ปี น้ำได้กัดเซาะตลิ่งพังลงมามาก จึงได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์ (ห่างจากตัวเมืองนครพนมไปทางทิศใต้ 4 กิโลเมตร) ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า “นครบุรีราชธานี”ปี พ.ศ. 2337 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยน นามเมือง เสียใหม่ว่า “เมืองนครพนม” ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร การที่พระราชทานนามว่า “เมืองนครพนม” สันนิษฐานได้ว่า อาจจะเนื่องด้วยแต่เดิมเมืองนี้เป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงให้ใช้คำว่า “นคร” หรือ อีกนัยหนึ่งคำว่า “นคร” นี้อาจรักษาชื่อเมืองเดิม คือ เมืองนครบุรีราชธานีไว้ ส่วนคำว่า “พนม” อาจจะเนื่องด้วยจังหวัดนี้มีองค์พระธาตุพนมประดิษฐานอยู่ หรืออาจจะเนื่องจากเดิมมี
อาณาเขตไกลไปถึงดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง คือบริเวณเมืองท่าแขก ซึ่งมีภูเขาสลับซับซ้อนมากมายไปจนถึงดินแดนของประเทศเวียดนาม จึงใช้คำว่า “พนม” เพราะแปลว่า “ภูเขา”



::อาณาเขตจังหวัด::
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย ทิศใต้ ติดต่อกับเขตอำเภอดงหลวง, อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้น กั้นพรมแดน ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตอำเภอกุสุมาลย์ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
จังหวัดนครพนม มีลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ความสูงของพื้นที่ โดยเฉลี่ยสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 140 เมตร สภาพภูมิประเทศ พอจะแ
บ่งออกได้เป็น 2 เขต ดังนี้ 1) เขตตอนเหนือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินสูงและที่ดอน มีป่าไม้สลับกับพื้นที่ราบที่ใช้ทำนา ทางเหนือสุดของจังหวัดในเขตอำเภอบ้านแพง มีเทือกเขาภูลังกาทอดผ่าน นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน คือแม่น้ำสงครามและแม่น้ำอูน สำหรับอำเภอในเขตนี้คือ อำเภอบ้านแพง อำเภอศรีสงคราม อำเภอท่าอุเทน อำเภอนาหว้า อำเภอโพนสวรรค์และอำเภอนาทม 2) เขตตอนใต้ พื้นที่บริเวณใกล้แม่น้ำโขงทางทิศตะวันออก เป็นที่ราบลุ่ม ส่วนทางทิศตะวันตก ซึ่งอยู่ห่างจากแม่น้ำโขงออกไปมีพื้นที่ดอนมีสภาพเป็นป่าเต็งรัง พื้นดินส่วนมากมีลักษณะเป็นหินลูกรัง บางแห่งมีลักษณะที่เนินและที่ราบสลับกัน มีแม่น้ำก่ำไหลผ่านพื้นที่ทางใต้สุดของจังหวัด ในเขตอำเภอนาแกมีเทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวกั้นเขตระหว่างจังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร สำหรับอำเภอ ที่อยู่ในเขตนี้ ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนม อำเภอปลาปาก อำเภอนาแก และ กิ่งอำเภอวังยาง




:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
จังหวัดนครพนมมีลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มความสูงของพื้นที่โดยสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ
140 เมตร สภาพภูมิประเทศ พอจะแบ่งออกได้เป็น 2 เขต ดังนี้ 1) เขตตอนเหนือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินสูงและที่ดอน มีป่าไม้สลับกับพื้นที่ราบที่ใช้ทำนาทางเหนือสุดของจังหวัดในเขตอำเภอบ้านแพง มีเทือกเขาภูลังกาทอดผ่าน นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน คือแม่น้ำสงครามและแม่น้ำอูน สำหรับอำเภอในเขตนี้คือ อำเภอบ้านแพง อำเภอศรีสงคราม อำเภอท่าอุเทน อำเภอนาหว้า อำเภอโพนสวรรค์ และอำเภอนาทม 2) เขตตอนใต้ พื้นที่บริเวณใกล้แม่น้ำโขงทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มส่วนทางทิศตะวันตก ซึ่งอยู่ห่างจาก แม่น้ำโขงออกไปมีพื้นที่ดอนมีสภาพเป็นป่าเต็งรังพื้นดินส่วนมากมีลักษณะเป็นหินลูกรังบางแห่งมีลักษณะ ที่เนินไหลผ่าน พื้นที่ทางใต้สุดของจังหวัดในเขตอำเภอนาแกมีเทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวกั้นเขตระหว่างจังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร สำหรับอำเภอ ที่อยู่ในเขตนี้ ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนม อำเภอปลาปาก อำเภอนาแก และ กิ่งอำเภอวังยาง





::ลักษณะภูมิอากาศ::
สภาพดินฟ้าอากาศของจังหวัดนครพนมแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ฤดูร้อนจะมีอากาศร้อน อบอ้าว อุณหภูมิเฉลี่ย 25-35 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในช่วง 37-40 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม -กลาง เดือนตุลาคมของทุกปี ในบางส่วนของจังหวัดมีฝนตกชุก โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอ ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง จะประสบอุทกภัย ได้รับความเสียหายเป็นประจำทุกปี เช่น อำเภอเมือง อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน เป็นต้น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,279.7 มิลลิเมตร/ปี ในปี พ.ศ.2545 มีปริมาณฝนรวมทั้งสิ้น ประมาณ 2,984.3 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยทั่วไปอากาศจะหนาวเย็นอุณหภูมิเฉลี่ย 10-12 องศาเซลเซียส ในปี 2545 (มกราคม 2545) มีอุณหภูมิต่ำสุด 11.7 องศาเซลเซียส

:: เขตการปกครอง ::
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 99 ตำบล 1,123 หมู่บ้าน การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 9 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 95 แห่ง และสภาตำบล 2 แห่ง โดย 2 ตำบล คือ ตำบลในเมือง และตำบลหนองแสง ตั้ง อยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น